พระที่นั่งทรงธรรม เดิมเป็นตำหนักไม้ที่ประทับของสมเด็จพระรูปฯ ก่อนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งทรงธรรม" เพราะสมเด็จพระรูปฯ เมื่อคราวบวชชีได้ทรงฟังธรรมในที่นั้นเป็นประจำ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นวิหารอาคารก่ออิฐถือปูน มีรูปทรงดังปรากฏในปัจจุบัน ในคราวบูรณะใหญ่ปี พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ (สธ) ไว้ที่หน้าบัน
เจดีย์ราย ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้สิบสอง ฐานเจดีย์เป็นฐานสิงห์ซ้อนกัน 2 ชั้น องค์ระฆังขนาดเล็กมีบัวหงายรองรับปากระฆัง ส่วนยอดมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับชุดบัวกลุ่มเถา เจดีย์รายเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุด
พระวิหารคต เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง สร้างขึ้นล้อมรอบพระปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 27 เมตร ยาว 37 เมตร ผนังด้านนอกปิดทึบ ด้านในเปิดโล่ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งเรียงรายโดยรอบ กุฏิไม้ทรงไทย เป็นอาคารไม้ขนาดใหญ่ทรงไทยยกพื้นสูง ด้านข้างแบ่งเป็นห้องสำหรับพระภิกษุจำพรรษา ตรงกลางเป็นชานโล่ง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พระตำหนักไม้ เป็นเรือนไม้ทรงไทยขนาดใหญ่ยกพื้นสูง ขนาดกว้าง 11.50 เมตร ยาว 19.55 เมตร สูงประมาณ 15 เมตร หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ไม้ประดับกระจก หน้าบันมีลวดลายกระจกประดับ ฝาไม้ลูกประกน
ข้อมูลทั่วไป การเดินทาง โปรโมชั่นอัมพวา ข่าวท่องเที่ยวอัมพวา ปฏิทินท่องเที่ยว สัมผัสไทย ที่อัมพวา สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยว บันทึกความทรงจำ รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท รีวิวที่กิน ร้านอาหาร ร้านอาหารแบ่งตามที่ตั้ง ห้องภาพ สำหรับสถานประกอบการ โฆษณากับเรา พันธมิตร(Partner)กับเรา สะสมแต้ม ดาหลาพลัส