หน้าแรก > สปา สุขภาพและความงาม > นวดแผนโบราณ นวดแผนไทย |
|
|
|
|
ความเป็นมาของการนวดแผนโบราณ
การนวดอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรักษาอาการปวดวิธีแรกที่มนุษย์เรารู้จัดตังแต่โบราณกาล เป็นวิธีทางธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ปวดตรงไหนก็ถู บีบนวดตรงนั้น ต่อมามีการสั่งสมประสบการณ์จนเป็นศาสตร์หนึ่งในการรักษา สำหรับการนวดแผนไทย หรือบางครั้งเรียกนวดแผนโบราณ มีบันทึกตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาเจริญรุ่งเรืองมากสมัยอยุธยา แล้วจืดจางลงเมื่อแพทย์แผนใหม่เข้ามาสู่ประเทศของเรา ปัจจุบันกลับได้รับความนิยมอย่างมากอีกครั้งเนื่องจากสรรพคุณที่ปรากฏให้เห็น ที่น่าประหลาด คือ คนที่เห็นคุณค่ากลับเป็นคนต่างชาติ
การนวดแบ่งตามสรรพคุณออกเป็น 3 อย่าง คือ นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อการบำบัดรักษาและนวดเพื่อการฟื้นฟูสรรถภาพ นอกจากนี้การนวดแผนโบราณยังแบ่งออกได้ตามกรรมวิธีการนวดเป็น 2 อย่างใหญ่ๆ คือ นวดเชลยศักดิ์ และนวดราชสำนัก บางแห่งแบ่งนวดฝ่าเท้าออกมาต่างหาก
การจับเส้นเป็นอันเดียวกับการนวดแบบเชลยศักดิ์ เช่น นวดรักษาอาการปวดเมื่อย ที่เรียกว่าเส้นจมการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพก็นวดได้ทุกคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะการนวดสามารถกระตุ้นระบบต่างๆของร่างกายทำให้กระปี๋กระเปร่า ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย ถานวดเพื่อการบำบัดรักษา จะมีประโยชน์มากในกลุ่มอาการปวด โดยเฉพาะปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นปวดหลัง ปวดคอ ปวดคอ โรคเครียด โรคนอนไม่หลับ
|
การนวดแผนไทยซึ่งประกอบด้วย การกด การบีบ การคลึงเค้น การประคบ และการอบตัว นับเป็นการรักษาโรคด้วยวิธีการธรรมชาติ เพราะการนวดจะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายคนเราทำงานได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อที่ตึงหรือแข็งเกร็งจะผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นระบบประสาทต่างๆ ให้ทำงานดีขึ้น ยังช่วยให้ระบบข้อต่อและเส้นเอ็นเกิดความยืดหยุ่น
หลักการสำคัญของการนวดแผนไทย ก็คือแนวเส้นประธาน 10 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นบริเวณรอบสะดือ แล้วแยกออกไปตามทิศทางต่างกัน เพื่อควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากเส้นประธาน 10 มีความผิดปกติ จะทำให้เกิดโรคในลักษณะต่างกันไป
เส้นประธานทั้ง 10 เส้น ได้แก่ อิทา ปิงคลา สุมะนา กาลทารี หัสรังษี ทวารี จันทภูสัง รุชำ สิกขิณี และ สุขุมัง โดยเส้นประธานแตะละเส้นมีความสัมพันธ์กับอาการเฉพาะของเส้นนั้นๆ
เส้นอิทาและปิงคลา เกี่ยวข้องกับอาการบริเวณศีรษะ เช่น ปวดศีรษะ
เส้นสุมะนา เกี่ยวข้องกับอาการของอวัยวะแนวกลางลำตัว เช่น ลิ้น คาง อก
เส้นกาลทารี เกี่ยวข้องกับอาการของแขนและขา
เส้นหัสรังษีและทวารี เกี่ยวข้องกับอาการทางตา
เส้นสิกขิณี เกี่ยวข้องกับอาการของทวารเบา
เส้นสุขุมัง เกี่ยวข้องกับอาการของทวารหนัก
ดังนั้นหมอนวดจึงต้องเรียนรู้และจดจำทางเดินของเส้นประธาน 10 ให้แม่นยำ เพราะตลอดแนวของแต่ละเส้นล้วนประกอบด้วย จุดแก้ สำหรับบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยที่ต่างกัน
|
|
ตัวอย่างบริการ นวดแผนไทย
1.นวดน้ำมัน
การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เช่น โจโจบา อัลมอนด์ และกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลาย และคลายเครียด ด้วยกลิ่นหอม เฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันบริสุทธิ์ยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่าง ทำให้กล้ามเนื้อไม่ หย่อนยาน สลายไขมันตามร่างกาย ความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวด จะซึมซาบ ลึกเข้าไปผิวหนังและกล้ามเนื้อ ช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว
2.นวดผ่อนคลาย
การนวดผ่อนคลาย เป็นการนวดที่ถูกสุขลักษณะตามแบบแผนไทยโบราณ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิด การไหลเวียนของเลือดลม คลายกล้ามเนื้อที่ล้า รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย
3.นวดฝ่าเท้า
การนวดเฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
4.นวดสปอร์ท
การออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรืออาการล้า การนวดสปอร์ท จึงเป็นการนวดคลายกล้ามเนื้อดังกล่าว ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
5.นวดจับเส้น
การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลา ผ่อนคลาย
6.นวดสลายไขมัน อโรมา
เป็นการนวดน้ำมัน เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย
7.นวด ประคบ
เป็นการใช้ลูกประคบสมุนไพร ประคบตามร่างกาย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงหรือเครียดให้สบาย
8.นวด ไมเกรน
เป็นการนวดเพื่อแก้อาการปวดศีรษะ โดยจะกดจุดบริเวณศีรษะที่ปวด
|
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล :
กลุ่มส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ
นวดเพื่อสุขภาพ
รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
นวดแผนไทย...ศาสตร์โบราณในโลกสมัยใหม่, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |