ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติจากหิ่งห้อย แมลงตัว เล็กๆ ที่ทำให้ต้นไม้ริมน้ำอย่างต้น ลำพู เรืองรอง ระยิบระยับในยามค่ำคืน นำมาสู่คลื่นนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล ที่ต่างมุ่งหน้าลงเรือหางยาว ล่องไปตามลำน้ำแม่กลอง หรือทัวร์หิ่งห้อยในจังหวัดอื่นๆ ชมปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ หาชมได้ไม่ง่ายนัก แต่สิ่งที่มาของภาพ และข้อมูลพร้อมกับยอดนักท่องเที่ยวกลับส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนใน ชุมชนและสิ่งมีชีวิตร่วมชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเที่ยวชมหิ่งห้อย ที่กลายเป็นข้อสงสัยว่า การท่องเที่ยวรูปแบบนี้เป็นการอนุรักษ์ให้หิ่งห้อยอยู่คู่กับชุมชนต่อไปหรือ เป็นการเร่งให้สูญพันธุ์เร็วขึ้น
สิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนโลกใบใหญ่
หิ่งห้อย แมลงตัวจิ๋ว ที่มักจะส่องแสงเป็นจุดเล็กๆ อยู่ตามต้นไม้ริมน้ำอย่างต้นลำพู แต่เมื่อใดที่มีหิ่งห้อยมาชุมนุมกันนับร้อยตัว แสงเล็กๆ ก็จะสว่างไสว สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็น แต่น้อยคนที่จะได้เห็นตัวจริงของมัน
ในเรื่องรูปลักษณ์หน้าตาของแมลงจิ๋ว เรืองแสงได้ ชนิดนี้ ประกอบไปด้วยปีก 2 ชั้น หัวทรงรี สีเหลืองปนน้ำตาล มีหนวด 2 เส้น ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง ปล้องบนสุดคือหน้าอก นูนแข็งสีดำ ส่วนท่อนกลางแบ่งเป็น 3 ปล้อง และส่วนที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญของหิ่งห้อยคือ 2 ปล้องสุดท้าย เนื่องจากเป็นจุดให้กำเนิดแสงนั่นเอง ขาของหิ่งห้อยมี 3 ข้อ 6 ขา ปลายขาจะมีสารเหนียวข้น เพื่อเป็นที่ยึดเกาะต้นไม้ใบหญ้า
หิ่งห้อยเป็นแมลงปีก แข็งขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามโคนไม้ริมน้ำ เมื่อถึงเวลาหากินจึงจะไต่ขึ้นมาบนต้นไม้ ใบไม้เพื่อกินน้ำค้างตามใบไม้ใบหญ้า มักวางไข่ไว้ตามดินหรือที่ชื้นแฉะ ในอีก 4-5 วันต่อมา ไข่จึงจะฟักเป็นตัวหนอน และโตเต็มวัยกลายเป็นหิ่งห้อยอยู่ประมาณ 3- 12 เดือน จึงตาย ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีวงจรชีวิตไม่ยืนยาวนัก
หิ่งห้อยสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
ส่วนใหญ่แล้วหิ่งห้อยมัก จะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือตามพื้นที่ชุ่มชื้น ใกล้แหล่งน้ำสะอาด และที่สำคัญ น้ำบริเวณนั้นจะต้องเป็นน้ำนิ่ง หมายถึงผืนน้ำที่เงียบสงบ ไม่ค่อยมีคลื่นซัดฝั่งมากนัก เนื่องจากไข่หิ่งห้อยส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามชายตลิ่ง หากถูกคลื่นน้ำซัดจะทำให้ไข่ฝ่อ ไม่ฟักตัวทันที และเมื่อหิ่งห้อยโต เต็มวัยก็จะขยับขยายที่อยู่อาศัยจากโพรงดิน โคนไม้ขึ้นมาอยู่บนต้นลำพู ลำแพนโพทะเล แสม สาคู เหงือกปลาหมอ โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้หิ่งห้อยจึงเป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลทางระบบนิเวศทางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ สามารถบอกได้ด้วยสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น เช่นเดียวกับป่าชายเลนที่มีตัวบอกความอุดมสมบูรณ์เป็นสัตว์ที่หากินในบริเวณนั้น หิ่งห้อยจึง เป็นเครื่องการันตีได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสมดุลระบบนิเวศวิทยา ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังทำหน้าที่เป็น ?ตัวห้ำ? ในการควบคุมศัตรูพืชในธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเกษตรกรรม อันเป็นวิถีชีวิตหลักของคนไทยมาแต่ครั้งโบราณ
เริ่มจากระยะที่หิ่งห้อยยังเป็นตัวหนอน หอยคืออาหารหลักของพวกมัน ซึ่งเท่ากับว่าหิ่งห้อยช่วย กำจัดตัวพาหนะนำโรคหลายๆ ชนิดที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้ เช่น พยาธิใบไม้ในลำไส้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กินหอยเชอร์รี่ซึ่งมักจะเข้าไปกัดกิน ทำลายต้นกล้าข้าวในนาจนเสียหาย หิ่งห้อยจึงเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทีมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่และการเกษตรของไทยมานาน
ปล่อยแสง มหัศจรรย์ความงามจากหิ่งห้อย
หิ่งห้อยเป็นสัตว์หากินกลางคืน แหล่งหากินสุดโปรดของพวกมันคือบริเวณที่มีน้ำสะอาด และบริเวณป่าโกงกาง หรือป่าชายเลนและต้นลำพู ในเวลากลางวันหิ่งห้อยจะ ซ่อนตัวอยู่ตามโพรงดินใต้ต้นไม้ ต่อเมื่อเวลาใกล้ค่ำจึงเริ่มออกมาจากที่ซ่อน และปฏิบัติภารกิจประจำวันของมัน นั่นคือ การกะพริบแสง แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือ หิ่งห้อยกะพริบมีนาฬิกาในตัว ที่ทำให้มันกะพริบแสงได้ทุกๆ 24 ชั่วโมง และที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ หิ่งห้อยที่มาของภาพ และข้อมูลรวมกันเป็นจำนวนมาก จะพร้อมใจกันกะพริบแสง แต่เมื่อใดที่มีการแตกฝูงออกเป็นกลุ่มๆ แสงที่กะพริบออกมาจะเริ่มสามัคคีกัน นั่นเพราะหิ่งห้อยรู้จักการปรับตัว
มนุษย์รู้จักหิ่งห้อยมานานไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี ในสมัยโบราณเล่ากันว่า ชาวจีนและชาวบราซิลจะออกจับหิ่งห้อยมาใส่ขวดแก้ว ใช้แทนตะเกียงให้แสงสว่างยามค่ำคืน ว่ากันว่า หิ่งห้อยโตเต็มวัยเพียง 6 ตัวเท่านั้นก็ทำให้ห้องสว่างไสวมากพอที่จะอ่านหนังสือได้แล้ว เช่นเดียวกับคนญี่ปุ่นที่นิยมนำแสงสว่างของหิ่งห้อยมาใช้ประโยชน์
|