สิ่งที่อยู่คู่กับวัดนี้ สิ่งแรกก็คือ สังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อเนื่อง โกวิท อดีตเจ้าอาวาส ศาลาหลวงปู่เนื่อง เป็นศาลาที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ฝาผนังด้านในลงรักปิดทองเป็นเรื่องทศชาติ ส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าเป็นลายรดน้ำเรื่องนารายณ์สิบปาง สิ่งที่สองก็คือ อุโบสถจตุรมุขหินอ่อนที่มีความงดงาม อุโบสถจตุรมุขหินอ่อน กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง ประดับประดาด้วยโคมไฟ บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่าง ๆ บานหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีตงดงาม ฝีมือของจิตรกรหญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ และสิ่งสุดท้ายก็คือองค์ท่านพ่อท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวเวสสุวัณ ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา มีทั้งหมด 4 ภาค และคาถาขอพร
การเดินทาง ทางรถยนต์ จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (บางแพ-สมุทรสงคราม) เลยทางแยกเข้าอำเภออัมพวาไปประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานข้ามคลองอัมพวา เลี้ยวขวาตรงไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงวัดจุฬามณี โดยรถประจำทาง จากตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถสองแถวสายแม่กลอง-วัดจุฬา คิวรถอยู่บริเวณตลาดธนวัท ซึ่งห่างจากสถานีขนส่งสมุทรสงครามไปประมาณ 100 เมตร รถเข้าถึงวัดเลย
ข้อมูลทั่วไป การเดินทาง โปรโมชั่นอัมพวา ข่าวท่องเที่ยวอัมพวา ปฏิทินท่องเที่ยว สัมผัสไทย ที่อัมพวา สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยว บันทึกความทรงจำ รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท รีวิวที่กิน ร้านอาหาร ร้านอาหารแบ่งตามที่ตั้ง ห้องภาพ สำหรับสถานประกอบการ โฆษณากับเรา พันธมิตร(Partner)กับเรา สะสมแต้ม ดาหลาพลัส