|
|
เครื่องถ้วยเบญจรงค์เลียนแบบศิลปะสมัยรัชกาลที่ 2 ที่มีลวดลายละเอียดอ่อนช้อย สีสัน งดงาม เหมาะแก่การซื้อหาไปเป็นของฝากหรือของแต่งบ้าน |
เครื่องถ้วยสมัยเบญจรงค์จะเกิดขึ้นเมื่อไรไม่มีเอกสารยืนยัน แต่สันนิษฐานจากการที่มีการขุดพบในพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่สมัยอยุธยายุคประเจ้าประสาททอง (พ.ศ. 2173 - 2198) สมเด็จนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีเวลาว่างจากการทัพศึกมาก จึงนิยมเล่นของดีมีฝีมือ มีการผูกลายขึ้นใหม่ เช่น ลายดอกกุหลาบ พุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง ลายก้านต่อดอกผีเสื้อ ค้างคาว และแมลงปอ ฯลฯ และเชื่อว่าพระบามสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัยได้ออกแบบลายสำหรับภาชนะที่สั่งมา ใช้ในพระราชสำนักด้วยพระองค์เอง
เครื่องเบญจรงค์ของจังหวัดสมุทรสงคราม
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ศิลปะและความประณีตอันทรงคุณค่าที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความมานะอุตสาหะในการฝึกฝนทุ่มเท ตลอดจนความสามารถในการเข้าถึงศิลปะอย่างแท้จริงของคนในชุมชน ทำให้จังหวัดสมุทรสงครามเป้นแหล่งผลิตเครื่องเบญจรงค์แบบโบราณได้อย่างประณีตบรรจง คล้ายเครื่องเบญจรงค์สมัยอยุธยาทั้งในเรื่องของสีและลวดลาย จนกลายเป็นแหล่งผลิตและส่งออกเครื่องเบญจรงค์ที่สำคัญระดับประเทศในปัจจุบัน
เบญจรงค์ ปิ่นสุวรรณ จากผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อย สู่สายตาชาวโลก เนื่องจากเมื่อคราวงานประชุมระดับผู้นำนานาประเทศ เอเปค ปี 2548 รัฐบาลไทยได้นำเครื่องเบญจรงค์ ปิ่นสุวรรณ จากชุมชนอัมพวาแห่งนี้ มอบให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้นำ
|
|
คุณพ่อวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ ตำนานเบญจรงค์
ผู้เป็นต้นตำหรับแห่งปิ่นสุวรรณเบญจรงค์ แห่งอัมพวา |
คุณพ่อวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ ซึ่งเริ่มชีวิตด้วยการทำงานเป็นครู แต่มีความสนใจในศิลปะโบราณวัตถุ จึงทำให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา จากประสบการณ์หลายปีในการซ่อมแซมโบราณวัตถุที่ชำรุด กับการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ทำให้คุณพ่อวิรัตน์ได้พัฒนาเทคนิคการเผา การเคลือบ การเขียนและการลงสีตามกรรมวิธีดั้งเดิมแท้ๆขึ้นมาใหม่ และได้ถ่ายทอดงานศิลปะนี้ให้แก่ลูกหลานบ้านปิ่นสุวรรณเบญจรงค์ เพื่อสืบทอดคุณค่าแห่งเครื่องเบญจรงค์ต่อไป
งานเบญจรงค์ในปัจจุบันเนื่องจากบ้านปิ่นสุวรรณเบญจรงค์ยังคงใช้กรรมวิธีผลิตเครื่องถ้วยชามเบญจรงคที่เน้นความปราณีต ใช้พู่กันในเติมสีแทนการลงสีแบบนูน งานเพ้นท์สี รวมถึงคุณภาพของน้ำทองที่มีอายุการใช้งานได้นานกว่า จึงทำให้แต่ละผลงานใช้เวลาข้อนข้างมากแต่มีคุณภาพดี ซึ่งคุณวิรัตน์เป็นผู้สั่งสอนสืบทอดมา ทำให้ได้ผลงานที่ออกมาใกล้เคียงกับของโบราณและยังได้กลิ่นไอของงานศิลปะทำมืออย่างครงถ้วน จนเป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นแหล่งให้ความรู้แก่คณะนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั้วไปอีกด้วย
สีที่ใช้ในการวาดลายเบญจรงค์
ผลงานที่สร้างความภาคภูมิใจ ปี พ.ศ. 2546 ได้รับคัดเลือกจากคณะรัฐบาลให้เป็นผู้จัดทำชุดอาหาร ลายวิชาเบนทร์เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจ ที่มาของภาพ และข้อมูลประชุมเอเปค โดยมีสัญลักษณ์ตรงกลางจาน 21 นิ้ว เป็นอักษรย่อชื่อผู้นำของแต่ละประเทศ มีดอกไม้ในลายที่ลงตามสีประจำวันเกิดของผู้นำแต่ละประเทศ
ปิ่นสุวรรณเบญจรงค์ในปัจจุบัน เปิดให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมถึงแหล่งผลิต
ประวัติเครื่องถ้วยเบญจรงค์
เครื่องถ้วยสมัยเบญจรงค์จะเกิดขึ้นเมื่อไรไม่มีเอกสารยืนยัน แต่สันนิษฐานจากการที่มีการขุดพบในพระนครศรีอยุธยาจากลักษณะลวดลาย และสีเปรียบกับเครื่องถ้วยจีน เชื่อว่ามีการสั่งทำเบญจรงค์จากเครื่องถ้วยเบญจรงค์จากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยอยุธยายุคประเจ้าประสาททอง (พ.ศ. 2173 - 2198) สมเด็จนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) เครื่องถ้วยเบญจรงค์มีภาชนะลงยา 5 สี บนเคลือบ เข้าใจว่าเครื่องลายที่เขียนเครื่องถ้วยครั้งกรุงเก่า ควเป็นฝีมือช่วงหลวงให้อย่างสั่งออกไปให้ช่างจีนทำใช้ในราชการ ภายหลังพ่อค้าเข้ามาขายด้วยยลวดลายเมื่อถ่ายทอดกันหลายๆชั้นเข้าก็เลือนลางลงทุกที จนปูนหลังๆเกือนจะดูไม่รู้ว่าเป็นลายไทย
ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีเวลาว่างจากการทัพศึกมาก ความนิยมเล่นของดีมีฝีมือช่วงจึงเกิดขึ้นหลายอย่างลวดลายและรูปทรงที่สั่งให้ช่างจีนทำก็แก้ไขให้ดีขึ้น มีการผูกลายขึ้นใหม่ เช่น ลายดอกกุหลาบ พุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง ลายก้านต่อดอกผีเสื้อ ค้างคาว และแมลงปอ ฯลฯ และเชื่อว่าพระบามสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัยได้ออกแบบลายสำหรับภาชนะที่สั่งมาใช้ในพระราชสำนักด้วยพระองค์เอง เครื่องถ้วยไทยที่สั่งทำในเมืองจีนถือกันว่าเป็นของดีที่สุดล้วนเป็นของที่คิดแบบสั่งออกไปทำเมื่อในสมัยรัชกาลที่ 2 ทั้งนั้นโดยที่ สมเด็จพระสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระธุระในการสั่งทำจานชามของหลวงเข้ามาสำหรับใช้ในห้องเครื่อง
ข้อมูลติดต่อ
ปิ่นสุวรรณ เบญจรงค์
Tel: 034-751-3222
Email: sun_ya_sweet@hotmail.com
|
|
|
|
|
|
|
เส้นทางวิถีไทย หมู่บ้าน ชุมชน โฮมสเตย์
เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนได้ดีที่สุด พักแบบโฮมสเตย์ กิน นอน ใช้ชีวิตเหมือนชาวบ้าน วิถีชีวิตคนริมคลอง (การพายเรือตกกุ้ง , ดักโพงพาง , เตาตาลทำน้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลปึก) .. อ่านต่อ >> |
|
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
เส้นทางธรรมชาติ และวิถีชีวิต ปลูกป่าชายเลน ให้อาหารลิงในป่าแสม ชมการทำประมงชายฝั่ง /ชมสวนสมุนไพร /ชมวิถีเกษตร ชมการทำน้ำตาลมะพร้าว /ดูนก ตกกุ้ง /ปั่นจักยาน .. อ่านต่อ >> |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล ภาพและข้อมูลจาก :
โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์
กระทรวงวัฒนธรรม และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ไทยตำบล ดอทคอม |