หน้าแรก > สัมผัสไทย ที่อัมพวา > เรือจิ๋วจำลอง ที่บ้านปากมาบ |
|
|
|
สมัยก่อนคนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นเหตุให้คนไทยนิยมสร้างบ้านเรือนอยู่ริมน้้า บางคนก็สร้างเรือนแพอาศัยอยู่ในน้้า แม่น้้าล้าคลองจึงเป็นเส้นทางล้าเลียงและซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า จนบางแห่งเกิดเป็นตลาดน้้าขึ้น เรือ จึงเป็นพาหนะส้าคัญที่ผูกพันกับวิถีไทยมาโดยตลอด เรือจิ๋วต้าบลบางแก้วเกิดจากการรวมตัวของชาวบ้าน เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาภาวะการว่างงาน สาเหตุมาจากน้้าทะเลเน่าเสียเมื่อปี ๒๕๓๘ และเรือก็เป็นสิ่งที่ชาวบ้านปากมาบใกล้ชิดสัมผัสมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จึงได้รวมกลุ่มกันไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมกลับมาผลิตเป็น "เรือจิ๋ว"
ขั้นตอนการทา การต่อเรือจิ๋วจะถอดแบบมาจากเรือจริง และย่อสัดส่วนตามอัตราส่วนของเรือจริง แล้วจึงผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ในการต่อเรือจะท้าเหมือนการสร้างเรือจริงคือ เริ่มจากกระดูกงูและขึ้นข้างเรือก่อน วัสดุที่ใช้ท้าจะเป็นไม้สัก เรือจิ๋วที่จัดแสดง ได้แก่ เรือส้าเภาจีน เรือข้างกระดาน เรือด่วน เรือหลวงสมุย เรือตังเก เรืออวนรุน เรือมาดเก๋ง เรือมาดประทุน เรืออีป๊าบ เรือผีหลอก เป็นต้น ในการท้าเรือจิ๋ว ช่างท้าเรือได้มีการค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอีด นอกจากแบบของเรือแล้ว ช่างต่อเรือจิ๋วยังได้ท้าข้อมูลรายละเอียดของเรือพื้นบ้านไว้เป็นแผ่นป้าย อย่างเช่น เรืออีแปะ/เรืออีมาดหมู เป็นเรือที่ใช้ล้าเลียงพืชผลตามร่องสวนต่างๆ ใช้เป็นเรือไปมาหาสู่กันใน
ระยะใกล้ๆ นิยมใช้กันในชนบท คล้ายกันแต่มีชื่อต่างกันเพราะรูปร่างและลักษณะของเรือ เรืออีแปะยังพอมีให้เห็นในปัจจุบัน แต่เรืออีมาดหมูหาดูได้ยากมาก เรือจิ๋ว เป็นงานอนุรักษ์ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ด้วยฝีมือที่ปราณีต สวยงาม โดยสามารถคงรูปศิลปวัฒนธรรมของชุมชนประมง ได้อย่างสวยงาม
|
ความมหัศจรรย์ของฝีมือช่างแกะสลักไทยที่สามารถต่อเรือจิ๋วจำลองได้ อย่างประณีตสวยงาม
ที่สหกรณ์บ้านปากมาบมีกลุ่มชุมชนที่ผลิตเรือจำลองชนิดต่างๆ ที่วิ่งในท้องน้ำของไทย เช่น
เรือแจว เรือหางยาว เรือผีหลอก เรืออีแปะ ซึ่งทำมา จากไม้สักจึงมีลวดลายสวยงาม
จากการฝักใฝ่เรียนรู้ ได้กลายมาเป็นอาชีพ จนกระทั่งนำไปสู่การพัฒนาสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง อู่เรือจิ๋วบ้านปากมาบ ในการบริหารดูแลของกลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ประมงบางจะเกร็ง-บางแก้ว(อู่เรือจิ๋ว) ประธานกลุ่มคือคุณบุญยืน ศิริธรรม คุณพจนา สายทอง เจ้าหน้าที่กลุ่มฯ พูดถึงการดำเนินงานว่า ตอนนี้มีคนมาสั่งทำเรือจิ๋ว คิวยาวเป็นปี ในการสั่งต่อเรือ ช่างสามารถต่อเรือได้ทุกชนิดถ้ามีแบบมีรูปมาให้ ช่วงนี้ช่างกำลังต่อเรือที่ทำยากมากคือ เรืออเมริกันเฟรชเชอร์ เรือรบในตำนานของอเมริกา
|
|
ลอยลำนาวา พาไปดูเรือจิ๋ว
“กุ๊กกิ๊ก”…จับจ่าย
“นางชม”...จับภาพ
|
สายน้ำจากแม่น้ำและลำคลองนั้นมีความผูกพันกับมนุษย์ที่มีถิ่นฐานอยู่ริมน้ำมาแต่ครั้งอดีต ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตให้เจริญเติบโต
สายน้ำนี้มีความเกี่ยวพันต่อวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้คนมาอย่างยาวนาน เรือก็คืออีกสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน
ของชาวบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ริมน้ำหลายยุคหลายสมัยด้วยเช่นกัน ประโยชน์ใช้สอยของเรือมีตั้งแต่ใช้เดินทางไปมาหาสู่กัน ขนถ่ายสินค้า
หรือจะใช้ในการทำประมงเพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องสำหรับคนในครอบครัวตน
อยู่ที่บ้านปากมาบ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นที่ตั้งของอู่เรือจิ๋ว คุณบุญยืน ศิริธรรม ประธานกลุ่มสตรีและเยาวชน
เล่าถึงสาเหตุของการจัดตั้งกลุ่มผลิตเรือจิ๋วว่า เมื่อหลายปีก่อนเกิดน้ำท่วม ทำให้น้ำทะเลเสีย ด้วยความที่เป็นชาวประมงจึงคิดประดิษฐ์เรือประมงพื้นบ้านขนาดจิ๋วขึ้น
เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นเมื่อยามที่ว่างเว้นจากการทำประมงซึ่งเป็นอาชีพหลักโดยคิดว่าหากปล่อยให้มีเวลาว่าง
โดยไม่คิดจะทำสิ่งใดให้เป็นประโยชน์ก็จะเป็นการสูญเสียเวลาเปล่า ๆ เมื่อวันและเวลาผ่านไป ความผูกพันของคนและเรือนั้นก็ห่างกันไปทุกที
เพื่อเป็นการดำรงวิถีชีวิต สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิม และร่วมอนุรักษ์เรือไทยให้คงไว้ จึงชักชวนให้ชาวประมงและลูกหลานที่ว่างเว้นจากงานประจำมาฝึกทำเรือจิ๋วกัน
แล้วจึงค่อยพัฒนามาเป็นเรือหลากหลายชนิด เช่น เรือแดง เรือโป๊ะ เรือโยงโป๊ะ เรือเอี้ยมจุ๊น เรือฉลอม เป็นต้น
ที่บ้านปากมาบ นอกจากจะมีเรือจิ๋ว ๓๐ กว่าชนิดให้เลือกจับจ่ายเป็นของที่ระลึกแล้ว ยังมีศูนย์เรียนรู้ของชุมชนที่จัดเก็บเรือจิ๋วแบบต่าง ๆ
พร้อมป้ายบรรยายถึงประวัติความเป็นมาของเรือแต่ละลำเพื่อเป็นความรู้ให้แก่ผู้เข้าชม ได้แก่ เรือแดง เรือแท็กซี่ และเรือโยง คือเรือข้ามฟากแม่น้ำ
หรือใช้ลากจูงเรือชนิดอื่น ๆ เป็นสัญลักษณ์ของผู้นำ นิยมให้เป็นของขวัญผู้ใหญ่เพื่อแสดงความยินดีในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เรือสำปั้น
หรือเรือสามปั้น เป็นเรือต่อที่ได้แบบอย่างมาจากเมืองจีน คำว่าสามปั้นแปลว่าไม้กระดาน ๓ แผ่น แต่คนไทยนำมาปรับปรุงต่อด้วยไม้กระดาน ๕ แผ่น
ใช้ขนพืชผลตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ และยังมีเรือสำปั้นที่ติดประทุนเพิ่มเข้าไปเพื่อใช้กันแดด นิยมใช้ในหมู่ผู้มีอันจะกินและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เรือโป๊ะ ใช้ทำประมงจับปลา โดยเฉพาะปลาทูแม่กลองซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยังมีเรือโยงโป๊ะที่ใช้ลากจูงเรือโป๊ะอีกทีหนึ่ง
เรือเอี้ยมจุ๊น เรือกระแชง และเรือข้างกระดาน ใช้บรรทุกสินค้าจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมือง เรือฉลอม เป็นเรือที่มีใบบังคับเรือ ใช้บรรทุกของ
ฝ่าคลื่นลมทะเลไปยังเมืองที่ห่างไกล เรือตังเก ใช้ทำประมงในทะเลน้ำลึก
เรือยาว และเรือแข่ง เป็นเรือที่ใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ และใช้แข่งตามสนามแข่งเรือ เรือสองตอน มีรูปร่างเพรียวบาง หัวแหลม แล่นได้เร็วมาก ท้องเรือมี ๒ ชั้น จึงเรียกกันว่า เรือสองตอน
เรือสำปั้นพาย เป็นเรือที่ใช้พายไปมาหาสู่กันระหว่างบ้าน หรือใช้เป็นเรือขายสินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ หาดูได้ตามตลาดน้ำทั่วไป เรืออีป๊าบสวน
ใช้ขนถ่ายพืชผลในแม่น้ำลำคลองและร่องสวนต่าง ๆ และเรืออีป๊าบทะเล มีรูปร่างคล้ายกับเรืออีป๊าบสวน แต่เพรียวบางกว่า สามารถโต้คลื่นลมได้ดีกว่า
เรืออีบด หรือเรือบด คือเรือที่พระใช้พายบิณฑบาต มีขนาดเล็กนั่งได้คนเดียว หาดูได้ตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ริมน้ำ เรืออีแปะและเรืออีมาดหมู ใช้ลำเลียงพืชผลตามร่องสวนต่าง ๆ เป็นเรือตกปลา เก็บผัก หรือใช้พายไปมาหาสู่กันในระยะใกล้ ๆ ต่างกันตรงที่เรืออีแปะนั้นเป็นเรือต่อ น้ำหนักเบา ส่วนเรืออีมาดหมูเป็นเรือขนาดเล็ก หัวเรือและท้ายเรือยื่นออกคล้ายกับจมูกหมู
ยังมีเรืออีกชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อแปลก ๆ คือ เรือผีหลอก ฟังดูแล้วน่ากลัว มีชื่อเดิมคือ เรือเรียงกุ้ง เรียงปลา สาเหตุที่ชื่อเรือผีหลอกเพราะใช้หาปลาในคืนเดือนมืด
ลักษณะของเรือนั้น ที่ข้างเรือมีกระดานทาสีขาว เมื่อปลาเห็นสีขาวจะกระโดดใส่เรือซึ่งมีอวนกั้นอยู่อีกด้านหนึ่งของเรือ ส่วนในท้องเรือจะใส่ทางมะพร้าว
หรือทางจากเพื่อกันปลากระโดดออกจากเรือ เวลาออกหาปลาจะต้องใช้ความเงียบเป็นพิเศษ หากเสียงดังปลาจะหนี เมื่อชาวบ้านเห็นเรือตอนกลางคืน
ก็จะตกใจจึงเป็นที่มาของภาพ และข้อมูลของชื่อเรือผีหลอก
เรือแม่ปะ หรือเรือหางแมงป่อง บ้างก็เรียกเรือหางแมลงป่อง เป็นเรือขุดขนาดใหญ่ที่รัชกาลที่ ๕ ใช้เสด็จประพาสต้น มีลักษณะพิเศษคือ
โขนเรือทั้งหัวและท้ายงอนสูงขึ้นข้างบน ด้านท้ายเรือติดประทุนใช้เป็นที่อาศัยหลบแดดและฝน
เรือหลาย ๆ ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยยาวนานหลายยุคหลายสมัย ซึ่งบางชนิดนั้นหาดูได้ยาก
และปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็นกันแล้ว
|
สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเรือจิ๋ว หรือเรือจำลอง ต้องการจับจ่ายซื้อหา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อู่เรือจิ๋ว
กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ประมงบางจะเกร็ง-บางแก้ว(อู่เรือจิ๋ว)
28/2 หมู่ที่ 8 ถ.บางบ่อ-ดอนหอยหลอด ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000
โทรศัพท์ : 034-769-877 คุณพจนา สายทอง,
081-308-9020,
080-4358116
: ทุกวัน ต้องการข้อมูลอู่เรือจิ๋วหรือต้องการท่องเที่ยวดูวิถีชาวประมงพื้นบ้าน ให้ติดต่อนัดหมายล่วงหน้าประมาณหนึ่งอาทิตย์
: ไม่เก็บค่าเข้าชม
: boonyuen_siri@hotmail.com |
|
|
|
|
|
|
เส้นทางวิถีไทย หมู่บ้าน ชุมชน โฮมสเตย์
เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนได้ดีที่สุด พักแบบโฮมสเตย์ กิน นอน ใช้ชีวิตเหมือนชาวบ้าน วิถีชีวิตคนริมคลอง (การพายเรือตกกุ้ง , ดักโพงพาง , เตาตาลทำน้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลปึก) .. อ่านต่อ >> |
|
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
เส้นทางธรรมชาติ และวิถีชีวิต ปลูกป่าชายเลน ให้อาหารลิงในป่าแสม ชมการทำประมงชายฝั่ง /ชมสวนสมุนไพร /ชมวิถีเกษตร ชมการทำน้ำตาลมะพร้าว /ดูนก ตกกุ้ง /ปั่นจักยาน .. อ่านต่อ >> |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล :
อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๒ เดือนกันยายน ๒๕๔๕
อู่เรือจิ๋วบ้านปากมาบ กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |