น้ำตาลมะพร้าว เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ถ่ายทอดกันมายาวหลายร้อยปีและได้สร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ดังบันทึกในคราวเสด็จประภาสต้นรัชกาลที่ 5 ที่กล่าวถึงน้าตาลมะพร้าวแห่งเมืองบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามว่าเป็น "สุดยอดในความหวาน มัน หอม" ด้วยเอกลักษณ์ในเรื่องรสชาตที่หอม หวานของน้ำตาลมะพร้าวเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับการนำไปประกอบอาหารคาว - หวานโดยเฉพาะขนมไทย น้ำตาลมะพร้าว (น้้าตาลปี๊บหรือน้้าตาลก้อน) ถือเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผลิตโดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้าน และอยู่คู่ครัวไทยเป็นเวลาช้านาน ส่วนใหญ่หลายครัวเรือนยังคงใช้น้้าตาลปี๊บประกอบอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย ใช้ประกอบได้ทั้งคาวและหวาน อาหารที่ท้าจากน้้าตาลมะพร้าว เช่น แกงกะทิ หรือขนมหวานต่างๆ จะมีรสชาติ หอม หวาน และมัน น้ำตาลมะพร้าว ผลิตมาจากน้ำตาลสดที่รองจากงวงมะพร้าว ทุกเช้าชาวสวนมะพร้าวจะน้ากระบอกรองน้้าตาลพร้อมกับมีดปาดงวงปีนขึ้นไปบนยอดต้นมะพร้าว และขึ้นเก็บวันละนับร้อยต้น โดยใช้ไม้พะยอมใส่ในกระบอกรับน้้าตาลกันบูดแบบธรรมชาติ น้้าตาลสดที่รองได้จะต้องใช้ผ้าขาวบางกรองเศษไม้และสิ่งสกปรกทิ้งก่อน เพื่อให้ได้น้้าตาลที่สะอาดน้ามาเคี่ยวที่เตาตาลจนเดือด เวลาเคี่ยวต้องช้อนฟองออก พอน้้าตาลเริ่มงวดจึงลดไฟลง เมื่อเหลือน้้าตาลประมาณ ๑ ใน ๕ หรือ ๑ ใน ๗ ของปริมาณน้้าตาลที่เทลงไป จึงยกกระทะลงจากเตาน้าพายหรือขดลวดมาตีกระทุ้งเพื่อให้น้้าตาลแห้งและแข็งตัวเร็วขึ้น และท้าให้น้้าตาลที่ถูกเคี่ยวเปลี่ยนจากสีน้้าตาลเป็นสีเหลืองนวล เมื่อน้้าตาลเริ่มแข็งตัวก็จะใช้เกรียงขูดออกจากกระทะ เทใส่ปี๊บ เรียกว่า “น้ำตำลปี๊บ” ถ้าเทใส่ถ้วยหรือตะไลพิมพ์ ได้น้้าตาลที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ เรียกว่า “น้ำตำลปึก”
ข้อมูลทั่วไป การเดินทาง โปรโมชั่นอัมพวา ข่าวท่องเที่ยวอัมพวา ปฏิทินท่องเที่ยว สัมผัสไทย ที่อัมพวา สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยว บันทึกความทรงจำ รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท รีวิวที่กิน ร้านอาหาร ร้านอาหารแบ่งตามที่ตั้ง ห้องภาพ สำหรับสถานประกอบการ โฆษณากับเรา พันธมิตร(Partner)กับเรา สะสมแต้ม ดาหลาพลัส