|
|
มีหลักฐานยืนยันได้ว่าลิ้นจี่สมุทรสงคราม เป็นลิ้นจี่ที่มาของภาพ และข้อมูลจากเมืองจีน โดยพ่อค้าชาวจีนได้นำผลลิ้นจี่เข้ามาขายหรือนำมาฝากญาติพี่น้องชาวจีนที่ อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำแม่กลองและแควอ้อมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งในขณะนั้นแม่กลองเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่มณฑลราชบุรี
พบว่ามีการปลูกครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2340 ที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที และที่ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา โดยยังมีต้นลิ้นจี่ที่มีอายุถึง 200 ปี ให้เห็นทุกวันนี้ พันธุ์ที่ปลูกกันมากจนทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดสมุทรสงครามคือ "พันธุ์ค่อมลำเจียก" แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่น ๆ ด้วย เช่น กะโหลก ใบยาว จีน ไทย สำเภาแก้ว และสาแหรกทอง มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากในเดือนเมษายน - พฤษภาคม
เป็นเวลากว่าร้อยปีที่ชาวสวนลิ้นจี่แม่ กลองสามารถพัฒนาสายพันธุ์ สีสัน รสชาติจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างความโดดเด่นของตนเอง โดยเฉพาะลิ้นจี่พันธุ์ "ค่อม" เปรียบเป็นราชินีแห่งลิ้นจี่แม่กลอง
ลักษณะเด่น
- "หนามตั้ง" เมื่อผลแก่จัดได้ที่ โดยหนามมีลักษณะราบลงและอย่ห่างกันไม่เป็นกระจุก
- "หนังตึง" ลิ้นจี่ที่แก่จัดมีสีเข้มเหมือนน้ำหมาก เปลือกบางและตึง
- "เนื้อเต่ง" เนื้อลิ้นจี่สีขุ่น เนื้อหนากรอบ แห้ง ไม่แฉะ มีกลิ่นหอมรสหวาน
- "ร่องชาด" เปลือกด้านในของลิ้นจี่ เมื่อปอกเปลือกออกแล้วจะเห็นเป็นสีชมพูตั้งแต่ขั้วผลจนถึงกลางผล ซึ่งจะเป็นลิ้นจี่ที่อร่อยที่สุด หากเปลือกด้านในเป็นสีชมพูทั้งผลแสดงว่าลิ้นจี่นั้นแก่จัดเกินไป รสชาติจะอร่อยน้อยลง
ทั้งนี้ลิ้นจี่สมุทรสงครามเมื่อแก่จัด จะมีสีเข้มเกือบดำ ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นลิ้นจี่ที่ใกล้เน่าเสียแต่อย่างใด โดยถึงแม้เปลือกจะมีสีเกือบดำแต่ก็ยังรับประทานได้และมีรสชาติหวานอร่อย
วิธีเก็บรักษาลิ้นจี่
เมื่อซื้อลิ้นจี่มาแล้วให้เก็บไว้ในที่ชื้น โดยไม่ต้องมัดปากถุง เพื่อให้น้ำในถุงระเหยได้ ไม่ทำให้ผลลิ้นจี่เน่า แต่หากวางไว้ในอุณหภูมิห้อง ถูกลมและแสงประมาณ 2 ชั่วโมง สีผิวจะเปลี่ยนเป็นดำแห้ง แต่รสชาติจะยังหวานอร่อยเหมือนเดิม แต่ถ้าเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น สามารถเก็บได้นานเป็นสัปดาห์ แต่รสชาติความหวานจะลดน้อยลง |
|
|
สวนเกษตรปลอดสารพิษ
พื้นที่สวนผลไม้ดั้งเดิม เป็นสวนเกษตรแบบผสมผสานไม่ใช้สารเคมี มีการปลูกพันธุ์พืชท้องถิ่น เช่น ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม มะพร้าวพันธุ์ต่างๆ ผสมผสานกับพืชอื่น ๆ อ่านต่อ >> |
|
สัมผัสไทย สัมผัสอัมพวา
สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ วัฒนธรรมไทย เครื่องถ้วยเบญจรงค์ สวนผลไม้ อาหารไทยพื้นบ้าน อ่านต่อ >> |
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |